วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนวคิดในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา (ตอนที่ 2)

Title: แนวคิดในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา(ตอนที่ 2)
Author: พศิน แตงจวง
E-mail: Phasina@gmail.com
บทคัดย่อ
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษามีความจำเป็น เนื่องจากบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากที่สุดที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้เจริญก้าวหน้า สรรค์สร้าง กระตุ้น ส่งเสริมบุคลากรให้มีสมรรถนะ พัฒนา คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ สามารถแข่งขันกับนานาประเทศหรือประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในยุคที่สังคมโลกมีการแข่งขัน พัฒนาอย่างมหาศาล ดังที่ John Naisbitt และ Patricia Aburdene (2538: 51) เขียนในหนังสือ Megatrends ตอนหนึ่งว่า “การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ไม่สามารถช่วยให้คนงานใช้แรงงานกลายเป็นวิศวกรได้” การศึกษาเท่านั้นที่จะช่วยพัฒนาสมรรถนะของคนงานให้เป็นอะไรก็ได้ การแพร่ขยายวงกว้างของวัฒนธรรมตะวันตกจะแพร่ไปทั่วโลกนอกจากนี้ก็ได้นำเสนอความเจริญก้าวหน้าของโลกอีกหลายอย่าง เป็นต้น
จากการที่โลกมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว กอปรกับการรวมตัวของ ASEAN เป็น ASEAN Community ทำให้ประเทศในกลุ่ม ASEAN ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ Brunei, Cambodia, Indonesia, Laos, Malaysia, Myanmar, Philippines, Singapore, Thailand, Vietnam อย่างไรก็ตามจากการที่กลุ่ม ASEAN รวมตัวกันอย่างดีทำให้ประเทศในกลุ่ม Asia และแปซิฟิคอื่น ๆ มีความสนใจเข้าร่วม จึงเกิดเป็น ASEAN +2 (Australia, New Zealand) ASEAN+3 (China, Japan, Republic of Korea) และอาจมีความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ อีก ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดทำให้มีข้อตกลงการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ สินค้า แรงงาน การเงินการคลังอย่างไม่มีกำแพงกีดกั้นในปี ค.ศ. 2015 โดยเฉพาะในมิติของการใช้บุคลากรร่วมกันอย่างอิสระนั้น ทำให้ประเทศต่างๆ ตื่นตัวอย่างมาก เช่น ประเทศจีนกำหนดให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีเรียนรู้ 3 ภาษาคือ ภาษาจีน ภาษาอังกฤษและภาษาในกลุ่ม ASEAN อีก 1 ภาษา นั้นทำให้แนวคิดในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษามีความจำเป็นต้องรีบดำเนินการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มิฉะนั้นประเทศเราจะไม่สามารถแข่งขันหรือทรัพยากรมนุษย์ของไทยจะไม่สามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้
นอกจากนี้ภายใต้สภาพที่เป็นจริงที่สังคมไทยมีแรงงานและนักเรียนแบบพหุวัฒนธรรม(Multi-culture) บุคลากรทางการศึกษามีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
แนวคิดการผลิตสินค้าที่ต้องใช้ความรู้เป็นฐาน(Knowledge-based Economy) การจัดการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย นั่นคือการจัดการศึกษาต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างแท้จริง เจาะลึก เข้าใจแก่นแท้ มากกว่าการใช้สูตร การท่องจำสูตรโดยปราศจากการทดลอง ค้นคว้าหรือแสวงหารูปแบบที่เหมาะสม ผู้จัดการศึกษาต้องเข้าใจปรัชญา ทฤษฎีอย่างลึกซึ้ง นั่นคือเราไม่สามารถใช้การยอมรับโดยอนุโลมหรือ taken-for-granted ได้อีกต่อไป
view to fulltext คลิกที่นี่