วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เทคนิคและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะตนเองด้วยตนเอง: กรณีการใช้ VDO

Title: เทคนิคและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะตนเองด้วยตนเอง: กรณีการใช้ VDO
Author: พศิน แตงจวง
E-mail: Phasina@gmail.com
บทนำ
จากประสบการณ์นานกว่า 40 ปีที่ปฏิบัติงานในหน้าที่นับตั้งแต่การเป็นนักศึกษาฝึกสอน(ที่ค่อนข้างสับสนกับตัวเองและกับครูพี่เลี้ยง) เป็นครูมัธยมศึกษา วิทยาลัยครูและมหาวิทยาลัย รวมถึงทำงานวิจัยมากกว่า 40 ชิ้น เป็นที่ปรึกษางานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์มากว่า 100 เรื่อง ทำให้พบปัญหาซ้ำ ๆ กันที่ตอกย้ำข้อสรุปคือ ปัญหาที่เกิดจากความคิดรวบยอด(Concept) ที่เกิดจากกระบวนทัศน์(paradigm) เก่า ๆ การแบ่งชนชั้นทางสังคม (ความเหลื่อมล้ำ ต่ำสูง ความไม่เสมอภาคทางสังคม) ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน นำไปสู่ข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชีวิตและมีผลต่อความแตกต่างทางการศึกษา และคุณภาพของประชากรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั้น (ในต่างประเทศก็มีปัญหาแต่เขาช่วยกันหาต้นเหตุและดำเนินการแก้ไขปัญหานั้นอย่างจริงจัง เช่นกรณีของ Hanushek, Eric, 2011; Peterson, Paul E.; Woessmann, Ludger; Hanushek, Eric A. and Lastra-Anadon, Carlos X., 2011 และของญี่ปุ่น เป็นต้น) กระบวนทัศน์(paradigm) แบบเก่าของเรานี้มีความจำเป็นต้องขจัดออกไปให้ได้ หากเราต้องการมีพื้นที่ยืนอยู่ในเวทีโลกหรือแม้กระทั่งในประชาคมเศรษฐกิจ ASEAN (ASEAN Economic Community) ก็ตาม ดังข้อความที่ว่าเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป สังคมมีเทคโนโลยีที่ให้ความสะดวกมากขึ้น การศึกษาและครูผู้สอนจึงต้องปรับบทบาทใหม่(new teacher roles) ใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่(new pedagogies) ให้เหมาะสมกับสภาพบริบทเพื่อทรงไว้ซึ่งการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและรวมถึงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาหรือฝึกอบรมครูให้สามารถเผชิญกับปัญหาใหม่ ๆ ได้(new approaches to teacher training) (UNESCO, 2008: 9)
แม้ว่าความหวังของคนชนชั้นล่างจะเริ่มมีประกายแสงที่ปลายถ้ำตั้งแต่ได้มีการตรา พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 เป็นต้นมา ทำให้รัฐบาลต้องจัดการศึกษาให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันและเรียนฟรี แต่ภายใต้คำว่าโอกาสเท่าเทียมกัน และเรียนฟรีก็ยังคงมีปัญหาให้ถกเถียงกันต่อไปถึงความเท่าเทียมกันเชิงคุณภาพ ซึ่งบทความนี้จะได้เสนอ อภิปรายในประเด็นเหล่านี้

view to fulltext: คลิกที่นี่