วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เทคนิคและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะตนเองด้วยตนเอง: กรณีการใช้ VDO

Title: เทคนิคและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะตนเองด้วยตนเอง: กรณีการใช้ VDO
Author: พศิน แตงจวง
E-mail: Phasina@gmail.com
บทนำ
จากประสบการณ์นานกว่า 40 ปีที่ปฏิบัติงานในหน้าที่นับตั้งแต่การเป็นนักศึกษาฝึกสอน(ที่ค่อนข้างสับสนกับตัวเองและกับครูพี่เลี้ยง) เป็นครูมัธยมศึกษา วิทยาลัยครูและมหาวิทยาลัย รวมถึงทำงานวิจัยมากกว่า 40 ชิ้น เป็นที่ปรึกษางานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์มากว่า 100 เรื่อง ทำให้พบปัญหาซ้ำ ๆ กันที่ตอกย้ำข้อสรุปคือ ปัญหาที่เกิดจากความคิดรวบยอด(Concept) ที่เกิดจากกระบวนทัศน์(paradigm) เก่า ๆ การแบ่งชนชั้นทางสังคม (ความเหลื่อมล้ำ ต่ำสูง ความไม่เสมอภาคทางสังคม) ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน นำไปสู่ข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชีวิตและมีผลต่อความแตกต่างทางการศึกษา และคุณภาพของประชากรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั้น (ในต่างประเทศก็มีปัญหาแต่เขาช่วยกันหาต้นเหตุและดำเนินการแก้ไขปัญหานั้นอย่างจริงจัง เช่นกรณีของ Hanushek, Eric, 2011; Peterson, Paul E.; Woessmann, Ludger; Hanushek, Eric A. and Lastra-Anadon, Carlos X., 2011 และของญี่ปุ่น เป็นต้น) กระบวนทัศน์(paradigm) แบบเก่าของเรานี้มีความจำเป็นต้องขจัดออกไปให้ได้ หากเราต้องการมีพื้นที่ยืนอยู่ในเวทีโลกหรือแม้กระทั่งในประชาคมเศรษฐกิจ ASEAN (ASEAN Economic Community) ก็ตาม ดังข้อความที่ว่าเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป สังคมมีเทคโนโลยีที่ให้ความสะดวกมากขึ้น การศึกษาและครูผู้สอนจึงต้องปรับบทบาทใหม่(new teacher roles) ใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่(new pedagogies) ให้เหมาะสมกับสภาพบริบทเพื่อทรงไว้ซึ่งการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและรวมถึงการพัฒนารูปแบบการพัฒนาหรือฝึกอบรมครูให้สามารถเผชิญกับปัญหาใหม่ ๆ ได้(new approaches to teacher training) (UNESCO, 2008: 9)
แม้ว่าความหวังของคนชนชั้นล่างจะเริ่มมีประกายแสงที่ปลายถ้ำตั้งแต่ได้มีการตรา พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 เป็นต้นมา ทำให้รัฐบาลต้องจัดการศึกษาให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันและเรียนฟรี แต่ภายใต้คำว่าโอกาสเท่าเทียมกัน และเรียนฟรีก็ยังคงมีปัญหาให้ถกเถียงกันต่อไปถึงความเท่าเทียมกันเชิงคุณภาพ ซึ่งบทความนี้จะได้เสนอ อภิปรายในประเด็นเหล่านี้

view to fulltext: คลิกที่นี่

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนวคิดในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา (ตอนที่ 2)

Title: แนวคิดในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา(ตอนที่ 2)
Author: พศิน แตงจวง
E-mail: Phasina@gmail.com
บทคัดย่อ
การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษามีความจำเป็น เนื่องจากบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากที่สุดที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้เจริญก้าวหน้า สรรค์สร้าง กระตุ้น ส่งเสริมบุคลากรให้มีสมรรถนะ พัฒนา คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ สามารถแข่งขันกับนานาประเทศหรือประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในยุคที่สังคมโลกมีการแข่งขัน พัฒนาอย่างมหาศาล ดังที่ John Naisbitt และ Patricia Aburdene (2538: 51) เขียนในหนังสือ Megatrends ตอนหนึ่งว่า “การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ไม่สามารถช่วยให้คนงานใช้แรงงานกลายเป็นวิศวกรได้” การศึกษาเท่านั้นที่จะช่วยพัฒนาสมรรถนะของคนงานให้เป็นอะไรก็ได้ การแพร่ขยายวงกว้างของวัฒนธรรมตะวันตกจะแพร่ไปทั่วโลกนอกจากนี้ก็ได้นำเสนอความเจริญก้าวหน้าของโลกอีกหลายอย่าง เป็นต้น
จากการที่โลกมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว กอปรกับการรวมตัวของ ASEAN เป็น ASEAN Community ทำให้ประเทศในกลุ่ม ASEAN ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ Brunei, Cambodia, Indonesia, Laos, Malaysia, Myanmar, Philippines, Singapore, Thailand, Vietnam อย่างไรก็ตามจากการที่กลุ่ม ASEAN รวมตัวกันอย่างดีทำให้ประเทศในกลุ่ม Asia และแปซิฟิคอื่น ๆ มีความสนใจเข้าร่วม จึงเกิดเป็น ASEAN +2 (Australia, New Zealand) ASEAN+3 (China, Japan, Republic of Korea) และอาจมีความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ อีก ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดทำให้มีข้อตกลงการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ สินค้า แรงงาน การเงินการคลังอย่างไม่มีกำแพงกีดกั้นในปี ค.ศ. 2015 โดยเฉพาะในมิติของการใช้บุคลากรร่วมกันอย่างอิสระนั้น ทำให้ประเทศต่างๆ ตื่นตัวอย่างมาก เช่น ประเทศจีนกำหนดให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีเรียนรู้ 3 ภาษาคือ ภาษาจีน ภาษาอังกฤษและภาษาในกลุ่ม ASEAN อีก 1 ภาษา นั้นทำให้แนวคิดในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษามีความจำเป็นต้องรีบดำเนินการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มิฉะนั้นประเทศเราจะไม่สามารถแข่งขันหรือทรัพยากรมนุษย์ของไทยจะไม่สามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้
นอกจากนี้ภายใต้สภาพที่เป็นจริงที่สังคมไทยมีแรงงานและนักเรียนแบบพหุวัฒนธรรม(Multi-culture) บุคลากรทางการศึกษามีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
แนวคิดการผลิตสินค้าที่ต้องใช้ความรู้เป็นฐาน(Knowledge-based Economy) การจัดการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย นั่นคือการจัดการศึกษาต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างแท้จริง เจาะลึก เข้าใจแก่นแท้ มากกว่าการใช้สูตร การท่องจำสูตรโดยปราศจากการทดลอง ค้นคว้าหรือแสวงหารูปแบบที่เหมาะสม ผู้จัดการศึกษาต้องเข้าใจปรัชญา ทฤษฎีอย่างลึกซึ้ง นั่นคือเราไม่สามารถใช้การยอมรับโดยอนุโลมหรือ taken-for-granted ได้อีกต่อไป
view to fulltext คลิกที่นี่

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาบุคลากรทางการศึกษาและแนวคิดในการพัฒนา(1)

Title: ปัญหาบุคลากรทางการศึกษาและแนวคิดในการพัฒนา(1)
Author: พศิน แตงจวง
E-mail: phasina@hotmail.com

จากข่าวที่ปรากฏในสื่อสารมวลชนอย่างแพร่หลายถึงปัญหาบุคลากรทางการศึกษา แต่ยังไม่ปรากฏว่ามีการศึกษา ทำความเข้าใจว่าปัญหาคืออะไร มีอะไรเป็นปัจจัยต้นที่หนุนนำให้เกิดปัญหา ผู้เขียนจึงพยายามเสนอแนวคิดเบื้องต้นเพื่อว่าจะได้มีการวิพากษ์และนำไปสู่กระบวนการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขให้มีปัญหาเหลือน้อยที่สุด ในช่วงแรกจะนำเสนอเนื้อหาแบ่งเป็น 2 ตอน

ตอนที่ 1 สภาพปัญหาบุคลากรทางการศึกษา
ตอนที่ 2 แนวคิดในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา

สรุป
ปัญหาบุคลากรทางการศึกษาของไทยตกอยู่ในสภาพเรื้อรังมาตั้งแต่เริ่มต้นจัดการศึกษา แต่มีความแตกต่างกันไปตามสภาพบริบทและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป หากจะกล่าวถึงสภาพปัญหา สามารถจำแนกได้เป็น 3 ยุค คือ
1. ยุคฝืดเคืองและขาดแคลน ยุคเริ่มมีการศึกษาถึงสิ้นแผนพัฒนาการศึกษา 2503 เป็นยุคที่ขาดแคลนทุกอย่าง ตั้งแต่ขาดแคลนสถานที่เรียนจึงต้องอาศัยอาคารวัด ขาดแคลนครู จึงต้องใช้ครูที่มีคุณวุฒิต่ำทำหน้าที่สอนไปพลางก่อน ขาดกระบวนการนิเทศติดตามและการพัฒนา
2. ยุคการอบรม เรียนรู้ นับตั้งแต่ประกาศใช้แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2520 ในปี พ.ศ. 2521 มีการประกาศใช้หลักสูตรประถมศึกษา-มัธยมศึกษา พุทธศักราช 2521เป็นยุคที่เกิดการปฏิรูปโครงสร้างและหลักสูตร ครูใช้เวลาส่วนใหญ่กับการฝึกอบรม เนื่องจากต้องเรียนรู้วิธีการสอนแบบใหม่ที่เน้น จากการสอนหนังสือ ครูเป็นศูนย์กลาง เป็นยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูต้องเรียนรู้วิธีการพัฒนาหลักสูตร วิธีการวัดผลประเมินผลจากการสอบแบบตัวเลือก(multiple choice) เป็นให้คิดให้เขียนตอบ และหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2533 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(สปช.) จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนประถมศึกษาที่มีความพร้อมทั่วประเทศรวม 119 โรงเรียน โดยใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) การจัดให้มีการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนประถมศึกษา เรียกว่าเป็น “โรงเรียนขยายโอกาส” ครูในโรงเรียนขยายโอกาสจึงต้องใช้เวลาส่วนใหญ่กับการฝึกอบรม เนื่องจากหลักการจัดการศึกษาในระดับนี้มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ ความ สามารถให้ออกไปประกอบอาชีพตามความถนัดและความสนใจ รวมทั้งการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยมีเป้าหมายของการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมกับตนในการทำประโยชน์ให้สังคม (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2536) ครูจึงต้องเรียนรู้วิธีการสอน การบริหารนักเรียนที่เป็นวัยรุ่น ต้องเรียนรู้วิธีการจัดสภาพเรียนรู้ การจัดหาสื่อที่เหมาะสม
3. ยุคปฏิรูป นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมาเป็นยุคที่ครูเกิดความสับสนในสถานภาพของตนเองเนื่องจากการยุบรวมกรมสามัญและสำนัก งานการประถมศึกษาแห่งชาติ จัดตั้งเป็นสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ยุบรวมสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด-อำเภอและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด-อำเภอ จัดตั้งเป็น 175 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) เป็นต้นทำให้ความสนใจที่จะให้กับการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนลดความสำคัญลงคนไทยจึงได้รับการศึกษาโดยเฉลี่ยเพียง 8.6 ปี แรงงานส่วนใหญ่ 56.1% มีการศึกษาแค่ประถมและต่ำกว่า ผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและคุณภาพภายนอก(สมศ.) รายงานว่า สถานศึกษา ครู นักเรียน ที่ได้มาตรฐานอยู่ในเกณฑ์ดีมีสัดส่วนต่ำ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ คุณภาพของการศึกษายังมีความแตกต่างกันสูง ระหว่างสถานศึกษาขนาดใหญ่ ขนาดกลางในเมือง และสถานศึกษาขนาดเล็กในชนบท และชุมชนแออัดในเมืองและมีความแตกต่างกันสูงระหว่างนักเรียนที่เก่งกับนักเรียนที่เรียนไม่เก่ง คือมีนักเรียนเก่งจำนวนหนึ่งไปแข่งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิควิชาการได้รับรางวัล มีจำนวนหนึ่งที่สอบระดับชาติได้คะแนนเต็มหรือเกือบเต็มแต่ก็มีนักเรียนจำนวนมากที่ได้คะแนนต่ำและต่ำมาก รวมทั้งนักเรียนชั้น ป.2 และ ป.3 จำนวนหนึ่งยังอ่านไม่ออกหรืออ่านไม่คล่อง (วิทยากร เชียงกูล 2009)

view to fulltext คลิกที่นี่

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การมีงานทำของบัณฑิต: ภาพลวงตาของการประกันคุณภาพ?

Title: การมีงานทำของบัณฑิต: ภาพลวงตาของการประกันคุณภาพ?
Graduate Employability: A Mirage of Quality Assurance?
Author
: พศิน แตงจวง, CELS, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, E-mail: phasina@yahoo.com

บทคัดย่อ
มุมมองเกี่ยวกับการศึกษาในช่วงที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงไปสู่แนวคิด Education for All ประกอบกับข้อเขียนของ Amartya Sen ชื่อเรื่อง Development as Freedom และที่สำคัญคือ โลกาภิวัตน์ และการศึกษาแบบไร้พรมแดน ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิดมิติของการมองการพัฒนามนุษย์แบบใหม่เกิดขึ้น กล่าวคือ ผู้เรียนต้องการเรียนสูงขึ้นในขณะที่ฝ่ายจัดการศึกษาต้องการนักศึกษามากขึ้นเพื่อให้มีรายได้มากขึ้น จึงทำให้ฝ่ายจัดการศึกษาแสวงหาเครื่องบ่งชี้ความเด่นของสถาบันโดยนำผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาขึ้น และหนึ่งในนั้นก็คือ การอ้างอิงผลการประเมินคุณภาพที่ดำเนินการโดยองค์กรมหาชนมาเกี่ยวข้องด้วย หากมองด้านสถิติจะพบว่าในปัจจุบันมากกว่าร้อยละ 50 ของวัยการศึกษาเรียนในระดับอุดมศึกษาและหากเปรียบเทียบเมื่อ 2 ทศวรรษเข้าเรียนในระดับนี้เพียงราวร้อยละ 10 เท่านั้นซึ่งหมายความว่ามากกว่าปริมาณที่ตลาดแรงงานจะรับได้ โดยเฉพาะเมื่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทย นโยบายภาครัฐยังคงเน้นแรงงานราคาถูก ปัญหาการมีงานทำจึงเกี่ยวโยงกับตลาดแรงงาน การประกันคุณภาพอาจช่วยพัฒนาคุณภาพการอุดมศึกษาได้แต่ไม่เป็นเครื่องประกันว่าบัณฑิตจะมีงานทำ

Abstract
In the last years, views of what should the objectives of education be has evolved, influenced by the thesis of Amartya Sen’s Development as Freedom, the concept of “Education for All” and globalization. Borderless Education now affects higher education throughout the globe making it a marketable commodity among others. Learners demand more education, while the educational institutions need more students to make more money. As such, higher education needs standards and criterions of quality. In Thailand, “Quality Assurance” seems to be the most recognized. It is introduced at a moment where there is an explosion of the supply of education, facing an explosion of demand. Nowadays, half age cohorts go to higher education, as compared with 10% two decades ago. This will produce an enormous amount of graduates that the labour market cannot absorb. In effect, the structure of the Thai economy, despite declaration of politicians, remains largely based on cheap and low skilled labour. The issue of employability is therefore linked to the state of the labour market (or labour regime). The “quality insurance”, if it may help to improve the quality of higher education, is not sufficient to ensure employability.

view to fulltext คลิกที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Bridging the Knowledge Gap by Regional Cooperation/Phasina Tangchuang

It is widely recognized that most industrialized countries are experiencing a transition to knowledge-based economy. The distinguishing feature of the KBE is the pervasive presence of knowledge as both an input and output throughout the economy. In the KBE, the ability to create wealth is increasingly dependent on the effective management of knowledge, that is, the organizational capability to create, acquire, accumulate, disseminate, and exploit information and knowledge. In the World Bank report (1998/1999), knowledge is crucial for development because everything we do depends on knowledge and that knowledge has overtaken resources as the most important factor determining a nation's standard of living. Knowledge knows no boundaries. Nowadays, it is no longer individual countries, which are "knowledge societies". The whole world is one big "knowledge society", with countries linked to one another via fast growing information technology (Toh, 1999 : 77-78). The nature of economic activity itself has changed drastically; technology and information, as well as knowledge, have become the major engines of productivity and economic growth. To adopt to these changing circumstances and ensure sustained development, regional institutions should pool their efforts to realize the tremendous potential that resides in knowledge-based industries and thereby fuel the region's growth and development in this century.

view to FullText. Click here.