วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การมีงานทำของบัณฑิต: ภาพลวงตาของการประกันคุณภาพ?

Title: การมีงานทำของบัณฑิต: ภาพลวงตาของการประกันคุณภาพ?
Graduate Employability: A Mirage of Quality Assurance?
Author
: พศิน แตงจวง, CELS, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, E-mail: phasina@yahoo.com

บทคัดย่อ
มุมมองเกี่ยวกับการศึกษาในช่วงที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงไปสู่แนวคิด Education for All ประกอบกับข้อเขียนของ Amartya Sen ชื่อเรื่อง Development as Freedom และที่สำคัญคือ โลกาภิวัตน์ และการศึกษาแบบไร้พรมแดน ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิดมิติของการมองการพัฒนามนุษย์แบบใหม่เกิดขึ้น กล่าวคือ ผู้เรียนต้องการเรียนสูงขึ้นในขณะที่ฝ่ายจัดการศึกษาต้องการนักศึกษามากขึ้นเพื่อให้มีรายได้มากขึ้น จึงทำให้ฝ่ายจัดการศึกษาแสวงหาเครื่องบ่งชี้ความเด่นของสถาบันโดยนำผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาขึ้น และหนึ่งในนั้นก็คือ การอ้างอิงผลการประเมินคุณภาพที่ดำเนินการโดยองค์กรมหาชนมาเกี่ยวข้องด้วย หากมองด้านสถิติจะพบว่าในปัจจุบันมากกว่าร้อยละ 50 ของวัยการศึกษาเรียนในระดับอุดมศึกษาและหากเปรียบเทียบเมื่อ 2 ทศวรรษเข้าเรียนในระดับนี้เพียงราวร้อยละ 10 เท่านั้นซึ่งหมายความว่ามากกว่าปริมาณที่ตลาดแรงงานจะรับได้ โดยเฉพาะเมื่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทย นโยบายภาครัฐยังคงเน้นแรงงานราคาถูก ปัญหาการมีงานทำจึงเกี่ยวโยงกับตลาดแรงงาน การประกันคุณภาพอาจช่วยพัฒนาคุณภาพการอุดมศึกษาได้แต่ไม่เป็นเครื่องประกันว่าบัณฑิตจะมีงานทำ

Abstract
In the last years, views of what should the objectives of education be has evolved, influenced by the thesis of Amartya Sen’s Development as Freedom, the concept of “Education for All” and globalization. Borderless Education now affects higher education throughout the globe making it a marketable commodity among others. Learners demand more education, while the educational institutions need more students to make more money. As such, higher education needs standards and criterions of quality. In Thailand, “Quality Assurance” seems to be the most recognized. It is introduced at a moment where there is an explosion of the supply of education, facing an explosion of demand. Nowadays, half age cohorts go to higher education, as compared with 10% two decades ago. This will produce an enormous amount of graduates that the labour market cannot absorb. In effect, the structure of the Thai economy, despite declaration of politicians, remains largely based on cheap and low skilled labour. The issue of employability is therefore linked to the state of the labour market (or labour regime). The “quality insurance”, if it may help to improve the quality of higher education, is not sufficient to ensure employability.

view to fulltext คลิกที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น