วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Bridging the Knowledge Gap by Regional Cooperation/Phasina Tangchuang

It is widely recognized that most industrialized countries are experiencing a transition to knowledge-based economy. The distinguishing feature of the KBE is the pervasive presence of knowledge as both an input and output throughout the economy. In the KBE, the ability to create wealth is increasingly dependent on the effective management of knowledge, that is, the organizational capability to create, acquire, accumulate, disseminate, and exploit information and knowledge. In the World Bank report (1998/1999), knowledge is crucial for development because everything we do depends on knowledge and that knowledge has overtaken resources as the most important factor determining a nation's standard of living. Knowledge knows no boundaries. Nowadays, it is no longer individual countries, which are "knowledge societies". The whole world is one big "knowledge society", with countries linked to one another via fast growing information technology (Toh, 1999 : 77-78). The nature of economic activity itself has changed drastically; technology and information, as well as knowledge, have become the major engines of productivity and economic growth. To adopt to these changing circumstances and ensure sustained development, regional institutions should pool their efforts to realize the tremendous potential that resides in knowledge-based industries and thereby fuel the region's growth and development in this century.

view to FullText. Click here.

วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Cooperative Skills Formation as a way of bridging the knowledge gap through regional cooperation


In this paper, we have started from the point that Thailand belongs to the “late industrialised countries” and that the blurred notions of knowledge and knowledge economy should be abandoned and replaced by the concept of national innovation system. This implied to show that this system is underpinned more on the dynamic of capital goods sectors rather than on research and education alone. By defining accurately what technical change owes to skills formation, and by showing that skills, whether individual or collective are acquired through learning by doing, the paper has arrived to advocate two original recommendations. The first one is to adopt vigorous and bold industrial policies driven to build strong national capital good sectors. The second one is to accompany theses policies by the formation of skills in these productive sectors through regional cooperation. In that respect, a apprenticeship scheme should be promoted at a regional level so that a learning by doing process could take place abroad in foreign factories producing capital goods for exporting to Thailand. These two recommendations would contribute to a large extent to the development of a strong national system of innovation.
view to Fulltext Click here

Thai Higher Education towards 2020

The paper stresses that today the role given to education tends to circumscribe higher education to a mere and reduced economic function. Globalisation serves as a legitimisation of this role. At a world level, a growing number of higher education institutions define their goals and criteria of efficiency in this perspective. The paper scrutinises the past and future of Thai higher education in the light of the history of western universities.The paper contends that the comprehensive educational reform enacted in 1999, may whether improves the quality of public higher education institutions, or confine them within this too narrow and impoverished economic ambition. The paper claims that this danger has to be urgently assessed and action taken in order to keep it at bay.The paper concludes that, by giving the primacy to microeconomic concerns, that is to individual and corporate interests, universities would let unattended more important social and political concerns. Universities would abandon their historical missions, that of contributing to the improvement of human life by developing human knowledge and that of helping to solve the millenary problem of the relationships between the individual and the society.
view to Fulltext Click here

พัฒนาการของรูปแบบการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก

การจัดการศึกษาระดับปริญญาเอกจะต้องมีกระบวนการที่แตกต่างไปจากกระบวนการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท กล่าวคือ หลักสูตรปริญญาเอกที่ดีจะต้องมีความพร้อมในด้านการวิจัย นั่นคือจะต้องมีศูนย์วิจัยที่มีประสบการณ์ในการทำการวิจัยสาขาวิชานั้น ๆ ในระดับชาติและนานาชาติให้การรับรอง รองรับ ศูนย์วิจัยนั้นจะต้องเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) โดยมีอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ และสัมพันธ์กันทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีประสบการณ์ด้านการทำวิจัยอย่างแท้จริง มีความลุ่มลึก มีความพร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาได้อย่างดี มีบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่อย่างต่อเนื่อง มีห้องค้นคว้าทดลองของนิสิตนักศึกษา มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้และเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างสะดวกและตลอดเวลา
ดูบทความฉบับเต็ม ที่นี่

แรงงานไทยในสายตาของผู้ประกอบการ : บทพิสูจน์คุณภาพการอาชีวศึกษา

คำว่า แรงงาน ตามพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2531 : 704) หมายถึง 1) ประชากรในวัยทำงาน 2) ความสามารถในการทำงานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ 3) กิจการที่คนงานทำในการผลิตเศรษฐทรัพย์ 4) ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งหมายความว่าแรงงานเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติ และประเทศชาติจะสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับคุณภาพของแรงงานเป็นสำคัญ แต่จากรายงานการศึกษาของ IMD(International Institute for Management Development) ปี 2545 ผลิตภาพของแรงงานไทยโดยรวมอยู่ในอันดับที่ 45 จาก 49 ประเทศ คิดเป็นมูลค่าการผลิตของแรงงานไทยโดยรวมเท่ากับ 6,000 ดอลลาร์ต่อคน เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วพบว่าประเทศเหล่านั้นมีมูลค่าการผลิตของแรงงานโดยรวมสูงกว่าไทย 5-6 เท่าและจากรายงานการศึกษาของคนไทยที่ สกศ. ได้จัดทำขึ้นเมื่อปี 2546 พบว่าระดับการศึกษาของแรงงานไทยมีค่าเฉลี่ยเพียง 7.8 ปี นอกจากนี้แรงงานไทยบางส่วนยังมีทักษะไม่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการอีกด้วย (อำรุง จันทวานิช 2548: 60)
ดูบทความฉบับเต็ม ที่นี่

Some Contradictory Evidences of the Knowledge-based Economy in Thailand

While there is a large consensus that knowledge is becoming an increasingly important stimulant of economic growth during this globalization era (Tangchuang, 2001: 5; cited in Thomas and others, 2000: 205), because all sectors have become knowledge-intensive with international standard mind set, not just those usually called “high technology” (cited in APEC Economic Committee, 2000: 3). Several observers argue that knowledge-based economy (KBE) is linked to the technological revolution and the internationalization of economic production. In a paradigm shift from traditional practices where physical capital was accumulated in an effort to secure, long-term economic growth and development, industrial companies and even agricultural sectors are now utilizing knowledge and ideas to produce increased competitiveness and overall economic performance. However, there is an argument on the reality of whether or not KBE should be seriously considering in the education reform and of “the new economy” as new engines of economic growth among developing countries where are normally rigidity, poor, inequality, poor quality of education, illiterates, high dropout rates, great public debt (Watanachai, 2002: 2; Svetanant, 2001: 41; BMI, 2002: 10) and infrastructure, computer literacy and information technology (IT) availability are far behind international standard. A study conducted by Tangchuang (1999), as well as, the work of Lopez and others (1998) revealed that there are actually many other evidences asserting relationships with economic growth among developing countries. For one hand, how the national economic policies, such as BOI, international investment, revenue and expenditure are set. Policy on education for its citizens, as well as cultural concerns and political stability are determined. On the other hand, how the employment, wage and the improvement of the quality of the labour force (CELS Database, 2002) are taken into account. Thomas and others (2000: 25) viewed the quantitative and qualitative sides of the growth process in the three key principles: A focus on three sets of assets: physical, human and natural capital; A concern for the distributive aspects across people and overtime; An emphasis on the institutional framework for good governance. As Amartya Sen (cited in Thomas and others, 2000: 1) said that “Economics is not only concerned with generating income, but also making good use of that income to enhance our living and our freedoms”. These overall assertion and issues are addressed and discussed in this paper as a case of Thailand.
view to Fulltext Click here

ผลกระทบการรับรู้เรื่องโรคเอดส์ต่อโครงสร้างทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ในภาคเหนือ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพโครงสร้างทางสังคมกระบวนการทางสังคมที่มีผู้ป่วยโรคเอดส์อาศัยอยู่ และศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์โรคเอดส์ เก็บข้อมูลโดยวิธีผสมผสานทั้งเชิงปริมาณ กับผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการสถานเริงรมย์ สถานพยาบาล ผู้ป่วยเอดส์เต็มขั้น หรือ ARC หรือมีเชื้อ HIV+ที่เป็นชาวเขาและชาวชนบทจากอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูนและพะเยา จำนวน 460 คน และเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แพทย์ พยาบาลจากสถานพยาบาล ผู้ป่วยเอดส์และผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 32 คน ผลการวิจัยพบว่าโครงสร้างทางสังคมและกระบวนการทางสังคมในชุมชนก่อนมีผู้ป่วยโรคเอดส์อาศัยอยู่ มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ช่วยเหลือกัน ไปมาหาสู่เยี่ยมเยือนกันอย่างอบอุ่น มีวัฒนธรรมเข้มแข็ง มีการนับถือผีปู่ย่าเพื่อควบคุมพฤติกรรม มีการเคารพผู้สูงอายุ มีประเพณี ความเชื่อที่ช่วยขัดเกลาให้สมาชิกมีค่านิยมแบบสงบ เรียบง่าย หลังจากที่ชุมชนมีการติดต่อสื่อสารกับภายนอกมากขึ้น ทำให้ต้องการมีรายได้เพิ่มขึ้นและมองเห็นช่องทางการทำมาหากิน ได้เคลื่อนย้ายแรงงานออกไปทำงานในเมือง ในโรงงานอุตสาหกรรมช่วงนอกฤดูการเกษตร ในช่วงปี พ.ศ. 2533-2534 ชาวนาชาวไร่ส่วนใหญ่ขายที่ดินที่นา ทำให้คนที่ไม่ขายที่นาไม่สามารถทำนาได้เพราะขาดแรงงาน ขาดการช่วยเหลือเกื้อกูล ขาดอำนาจการต่อรอง ขาดกลุ่มพลังทางภูมิปัญญาที่ช่วยกันแก้ไขปัญหา กลุ่มที่ขายที่ดินกลายเป็นเศรษฐีใหม่ ใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย ทำให้ผู้ที่ไม่มีเงิน ไม่มีวัตถุรู้สึกเสียหน้า เข้ากับใครในหมู่บ้านไม่ได้ รู้สึกอับอาย จึงต้องขวนขวายซื้อมาโดยผลักดันให้ลูกหลานไปทำงานในเมือง ทำให้วิถีชีวิต ความสัมพันธ์ของคนเปลี่ยนแปลงไป เกิดการเลียนแบบ ฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย เที่ยวเตร่ตามสถานเริงรมย์ไม่ว่าเด็กวัยรุ่น หรือมีครอบครัวแล้ว
ดูบทความฉบับเต็ม ที่นี่

แนวคิดเกี่ยวกับสันติภาพและความอดทน : สิ่งที่ขาดหายไปในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา

แม้ว่าหลักการการให้ความสำคัญแก่พนักงานว่า “คนทำงานคือสินทรัพย์” จะได้รับความสนใจจากองค์การภาคการผลิตมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา (Davenport, 2534 : 4) และในช่วงเวลาใกล้เคียงองค์การภาคพัฒนาบุคคลของไทยก็ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียน โดยตราใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ว่า “ผู้เรียนสำคัญที่สุด” แต่ทั้งสองกลุ่มองค์การก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจปฏิบัติจริง โดยองค์การกลุ่มแรกมักสนใจแต่เฉพาะพวกพ้องของตัวเอง ส่งผลให้พนักงานเข้าออกงานบ่อย ทะเลาะวิวาทกัน ขาดความกระตือรือร้น ขาดความอดทน ขาดวินัยการทำงาน ขาดความซื่อสัตย์ (Schneiter, 2004) แต่แม้จะเกิดปัญหาดังกล่าว องค์การก็ใส่ใจพัฒนา ฝึกอบรมพนักงานน้อย โดยอยู่ในอันดับที่ 41 ของโลกในปี 2541 ในขณะที่ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลี อยู่อันดับ 2, 6 และ 9 (สุมาลี ปิตยานนท์ 2545 : 88, 90) ส่วนองค์การกลุ่มหลังก็ยังไม่ตื่นตัวปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง ส่วนใหญ่เน้นการทำเอกสารรายงานหลักการ นโยบาย และการวางแผนเพื่อให้หน่วยเหนือตรวจหรือเป็นหลักฐานทางบวก แต่ขาดการปฏิบัติจริง ครูถูกบังคับให้ใช้เวลาสร้างเอกสารจนไม่มีเวลาสอนหรือตรวจงาน จึงต้องมอบหมายงานและการบ้านให้นักเรียน สร้างความบอบช้ำในการเรียนรู้ เกิดความเครียด มีพฤติกรรมรุนแรง นักเรียนได้รับผลกระทบจากหลักสูตรแฝงและหลายคนมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนโดยการหนีโรงเรียนไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ chat ทาง internet หรือพูดโทรศัพท์กับเพื่อน หลายคนตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี และเมื่อจบการศึกษาก็ด้อยคุณภาพ ขาดคุณธรรม จริยธรรม ขาดความอดทน และขาดทักษะในการทำงาน ชอบแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง(Tangchuang, 2002; จารุมา อัชกุล 2543 : 310) ผลกระทบคือ นักลงทุนพากันไปลงทุนที่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวันและเกาหลี ทั้ง ๆ ที่ค่าแรงในประเทศเหล่านั้นแพง แต่ประสิทธิภาพของแรงงานสูงกว่าบ้านเรามาก (ณัฐพล ชวลิตชีวินและปราโมทย์ ศุภปัญญา 2546 : VIII) จากการวิเคราะห์หลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา พบข้อมูลเชิงประจักษ์ว่า ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอนยังใช้ความรุนแรงต่อกัน ในด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตรจะเน้นความฟุ้งเฟ้อ ฉาบฉวย ในขณะที่ด้านเนื้อหาวิชาการจะเน้นวิชาความรู้ (Cognitive Domain) ขาดเนื้อหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ดีหรือมีแนวคิดเชิงสันติภาพ (Affective Domain, E.Q., M.Q. ) อันได้แก่ ความอดทน ความสามัคคีในองค์การ ความตั้งใจ ทุ่มเท ริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาควรจะต้องให้ความใส่ใจและเน้นมากขึ้น (พศิน แตงจวงและคณะ 2546; Schneiter, 2004) ผู้เขียนจึงได้เสนอรูปแบบการจัดการศึกษาไว้ในบทความนี้
ดูบทความฉบับเต็ม ที่นี่