วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ผลกระทบการรับรู้เรื่องโรคเอดส์ต่อโครงสร้างทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ในภาคเหนือ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพโครงสร้างทางสังคมกระบวนการทางสังคมที่มีผู้ป่วยโรคเอดส์อาศัยอยู่ และศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์โรคเอดส์ เก็บข้อมูลโดยวิธีผสมผสานทั้งเชิงปริมาณ กับผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการสถานเริงรมย์ สถานพยาบาล ผู้ป่วยเอดส์เต็มขั้น หรือ ARC หรือมีเชื้อ HIV+ที่เป็นชาวเขาและชาวชนบทจากอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูนและพะเยา จำนวน 460 คน และเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แพทย์ พยาบาลจากสถานพยาบาล ผู้ป่วยเอดส์และผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 32 คน ผลการวิจัยพบว่าโครงสร้างทางสังคมและกระบวนการทางสังคมในชุมชนก่อนมีผู้ป่วยโรคเอดส์อาศัยอยู่ มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ช่วยเหลือกัน ไปมาหาสู่เยี่ยมเยือนกันอย่างอบอุ่น มีวัฒนธรรมเข้มแข็ง มีการนับถือผีปู่ย่าเพื่อควบคุมพฤติกรรม มีการเคารพผู้สูงอายุ มีประเพณี ความเชื่อที่ช่วยขัดเกลาให้สมาชิกมีค่านิยมแบบสงบ เรียบง่าย หลังจากที่ชุมชนมีการติดต่อสื่อสารกับภายนอกมากขึ้น ทำให้ต้องการมีรายได้เพิ่มขึ้นและมองเห็นช่องทางการทำมาหากิน ได้เคลื่อนย้ายแรงงานออกไปทำงานในเมือง ในโรงงานอุตสาหกรรมช่วงนอกฤดูการเกษตร ในช่วงปี พ.ศ. 2533-2534 ชาวนาชาวไร่ส่วนใหญ่ขายที่ดินที่นา ทำให้คนที่ไม่ขายที่นาไม่สามารถทำนาได้เพราะขาดแรงงาน ขาดการช่วยเหลือเกื้อกูล ขาดอำนาจการต่อรอง ขาดกลุ่มพลังทางภูมิปัญญาที่ช่วยกันแก้ไขปัญหา กลุ่มที่ขายที่ดินกลายเป็นเศรษฐีใหม่ ใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย ทำให้ผู้ที่ไม่มีเงิน ไม่มีวัตถุรู้สึกเสียหน้า เข้ากับใครในหมู่บ้านไม่ได้ รู้สึกอับอาย จึงต้องขวนขวายซื้อมาโดยผลักดันให้ลูกหลานไปทำงานในเมือง ทำให้วิถีชีวิต ความสัมพันธ์ของคนเปลี่ยนแปลงไป เกิดการเลียนแบบ ฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย เที่ยวเตร่ตามสถานเริงรมย์ไม่ว่าเด็กวัยรุ่น หรือมีครอบครัวแล้ว
ดูบทความฉบับเต็ม ที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น