วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

แนวคิดเกี่ยวกับสันติภาพและความอดทน : สิ่งที่ขาดหายไปในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา

แม้ว่าหลักการการให้ความสำคัญแก่พนักงานว่า “คนทำงานคือสินทรัพย์” จะได้รับความสนใจจากองค์การภาคการผลิตมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา (Davenport, 2534 : 4) และในช่วงเวลาใกล้เคียงองค์การภาคพัฒนาบุคคลของไทยก็ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียน โดยตราใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ว่า “ผู้เรียนสำคัญที่สุด” แต่ทั้งสองกลุ่มองค์การก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจปฏิบัติจริง โดยองค์การกลุ่มแรกมักสนใจแต่เฉพาะพวกพ้องของตัวเอง ส่งผลให้พนักงานเข้าออกงานบ่อย ทะเลาะวิวาทกัน ขาดความกระตือรือร้น ขาดความอดทน ขาดวินัยการทำงาน ขาดความซื่อสัตย์ (Schneiter, 2004) แต่แม้จะเกิดปัญหาดังกล่าว องค์การก็ใส่ใจพัฒนา ฝึกอบรมพนักงานน้อย โดยอยู่ในอันดับที่ 41 ของโลกในปี 2541 ในขณะที่ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลี อยู่อันดับ 2, 6 และ 9 (สุมาลี ปิตยานนท์ 2545 : 88, 90) ส่วนองค์การกลุ่มหลังก็ยังไม่ตื่นตัวปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง ส่วนใหญ่เน้นการทำเอกสารรายงานหลักการ นโยบาย และการวางแผนเพื่อให้หน่วยเหนือตรวจหรือเป็นหลักฐานทางบวก แต่ขาดการปฏิบัติจริง ครูถูกบังคับให้ใช้เวลาสร้างเอกสารจนไม่มีเวลาสอนหรือตรวจงาน จึงต้องมอบหมายงานและการบ้านให้นักเรียน สร้างความบอบช้ำในการเรียนรู้ เกิดความเครียด มีพฤติกรรมรุนแรง นักเรียนได้รับผลกระทบจากหลักสูตรแฝงและหลายคนมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนโดยการหนีโรงเรียนไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ chat ทาง internet หรือพูดโทรศัพท์กับเพื่อน หลายคนตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี และเมื่อจบการศึกษาก็ด้อยคุณภาพ ขาดคุณธรรม จริยธรรม ขาดความอดทน และขาดทักษะในการทำงาน ชอบแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง(Tangchuang, 2002; จารุมา อัชกุล 2543 : 310) ผลกระทบคือ นักลงทุนพากันไปลงทุนที่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวันและเกาหลี ทั้ง ๆ ที่ค่าแรงในประเทศเหล่านั้นแพง แต่ประสิทธิภาพของแรงงานสูงกว่าบ้านเรามาก (ณัฐพล ชวลิตชีวินและปราโมทย์ ศุภปัญญา 2546 : VIII) จากการวิเคราะห์หลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา พบข้อมูลเชิงประจักษ์ว่า ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอนยังใช้ความรุนแรงต่อกัน ในด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตรจะเน้นความฟุ้งเฟ้อ ฉาบฉวย ในขณะที่ด้านเนื้อหาวิชาการจะเน้นวิชาความรู้ (Cognitive Domain) ขาดเนื้อหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ดีหรือมีแนวคิดเชิงสันติภาพ (Affective Domain, E.Q., M.Q. ) อันได้แก่ ความอดทน ความสามัคคีในองค์การ ความตั้งใจ ทุ่มเท ริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาควรจะต้องให้ความใส่ใจและเน้นมากขึ้น (พศิน แตงจวงและคณะ 2546; Schneiter, 2004) ผู้เขียนจึงได้เสนอรูปแบบการจัดการศึกษาไว้ในบทความนี้
ดูบทความฉบับเต็ม ที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น